ค่าออกแบบ
.เขาคิดกันอย่างไร (จากเจ้าของโครงการ) ?
ตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ แบ่งประเภทการบริการออกแบบสถาปัตยกรรม ไว้เป็น 6 ประเภท แต่ละประเภทจะมีค่าบริการไม่เท่ากัน และจะลดลงเรื่อย ๆ
ตามงบประมาณ ที่ก่อสร้าง โดยแยกออกโดยสังเขปดังนี้ :
-
ประเภทที่ 1 = ตกแต่งภายใจ, ครุภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์
-
ประเภทที่ 2 = พิพิธภัณฑ์ วัด อนุสาวรีย์ อาคารอนุสรณ์ที่วิจิตร
-
ประเภทที่ 3 = บ้าน (ไม่รวมตกแต่งภายใน)
-
ประเภทที่ 4 = โรงพยาบาล รัฐสภา โรงแรม ธนาคาร คอนโดมิเนียม วิทยาลัย
-
ประเภทที่ 5 = สำนักงาน สรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน โรงอุตสาหกรรม
-
ประเภทที่ 6 = โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด
โดยแต่ละประเภทแยกค่าบริการตามงบประมาณได้ดังต่อไปนี้ (เป็นร้อยละ)
ประเภท
|
ไม่เกิน 10 ล้าน
|
10 ล้าน -30 ล้าน
|
30 ล้าน - 50 ล้าน
|
50 ล้าน -100 ล้าน
|
100 ล้าน - 200 ล้าน
|
200 ล้าน -500 ล้าน
|
1
|
10.00
|
7.75
|
6.50
|
6.00
|
5.25
|
4.50
|
2
|
8.50
|
6.75
|
5.75
|
5.50
|
4.75
|
4.25
|
3
|
7.50
|
6.00
|
5.25
|
5.00
|
4.50
|
4.00
|
4
|
6.50
|
5.50
|
4.75
|
4.50
|
4.25
|
3.75
|
5
|
5.50
|
4.75
|
4.50
|
4.25
|
4.00
|
3.50
|
6
|
4.50
|
4.25
|
4.00
|
3.75
|
3.50
|
3.25
|
ในการคำนวณค่าบริการ ใช้คิดเป็นขั้นตอนของงบประมาณ เช่นอาคารคอนโดมิเนียม มีงบประมาณ 35,000,000 บาท คิดค่าแบบตามประเภทที่ 4 ดังนี้ :
10
ล้านบาทแรก คิด
6.50
%
= 650,000 บาท
20
ล้านบาทแรก คิด
5.50
%
= 1,100,000 บาท
5
ล้านบาทแรก
คิด 4.75
%
= 237,000 บาท
รวมค่าบริการทั้งหมด
= 1,987500 บาท ( = 5.60 % )
ค่าออกแบบ
.เขาแบ่งกันอย่างไร (ระหว่างสถาปนิกและวิศวกร) ?
ค่าบริการของสถาปนิกเมื่อได้รับมาจากเจ้าของงานแล้ว จำเป็นที่ต้องแบ่งให้บรรดาวิศวกรต่าง ๆ ที่เข้ามา ร่วมงาน (ไม่เช่นนั้นวิศวกรคงไม่ยอมทำงาน) ซึ่งจะจัดการแบ่งตามวิธีการดังนี้ :
โดยจะแบ่งออกเป็นสัดส่วนร้อยละดังต่อไปนี้
ประเภทของงาน/คน
|
1
|
2
|
3
|
4
|
สถาปนิก
|
65%
|
60%
|
55%
|
50%
|
วิศวกรโครงสร้าง
|
20%
|
20%
|
22%
|
26%
|
วิศวกรสุขาภิบาล
|
5%
|
5%
|
6%
|
6%
|
วิศวกรไฟฟ้า
|
10%
|
10%
|
11%
|
11%
|
วิศวกรเครื่องกล
|
0
|
5%
|
6%
|
6%
|
รายละเอียดเพิ่ม สอบถามได้ที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
ทันที
หากคุณมีปัญหากับสถาปนิก และวิศวกร คุณจะทำอย่างไรดี
ปัญหาที่เกิดขึ้นหากคุณคิดว่าเป็นความบกพร่องในหน้าที่
จรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ หรือความสามารถ (ไม่ใช่ เรื่องความสวยความงาม)
ที่ไม่อาจตกลงกันได้อีกต่อไปแล้ว และคุณก็ไม่รู้ จะหันหน้าไปพึ่งใคร
ขอแนะนำ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ :
1. ร้องทุกข์หรือขอคำปรึกษาจาก สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
หรือ วิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นขั้นตอนแรกที่ง่ายที่สุด
ไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
2. หากขั้นตอนแรกไม่เป็นที่พอใจ หรือหาข้อยุติไม่ได้ ก็ทำเอกสารเป็นทางการ
ร้องทุกข์ไปยัง คณะกรรมการ ควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม ( กส.)
หรือ คณะกรรมการควบคุมวิชาชีพวิศวกรรม ( กว.) กระทรวงมหาดไทย
3. หากยังตกลงกันไม่ได้ หรือยังไม่เป็นที่พอใจก็ฟ้องศาลสถิตยุติธรรมเลยครับ
สถาปนิก
ต้องมีจรรยาบรรณอะไรบ้าง และแบ่งระดับชั้นกันอย่างไร?
1.
ภาคีสถาปนิก (ลงท้ายชื่อด้วย สถ
. ภ.) ยังถือว่าเป็นสถาปนิกที่ยังมีประสบการณ์น้อยอยู่
สามารถออกแบบ (เซ็นชื่อ ขออนุญาต) อาคารโรงงงานอุตสาหกรรมและห้องแถวได้โดยไม่จำกัด
แต่หากเป็นอาคารสาธารณะ หรืออาคารทางวัฒนธรรม หรือบ้านและอาคารพักอาศัย
จะออกแบบได้โตไม่เกินกว่า 1,000 ตารางเมตร
. แต่สำหรับงานอำนวยการก่อสร้าง
(ควบคุมงาน) นั้น สามารถทำได้ทุกขนาดและทุกชนิด
2. สามัญสถาปนิก (ลงท้ายชื่อด้วย สถ .
ส.) ถือว่าบารมีแก่กล้าพอแล้วสามารถออกแบบและอำนวยการ
ก่อสร้าง ได้ทุกชนิดทุกขนาด โดยไม่มีข้อจำกัด แต่ยังเป็นคณะกรรมการ
ก.ส.ไม่ได้ (หากได้รับเชิญจากทางราชการ)
3. วุฒิสถาปนิก (ลงท้ายชื่อด้วย สถ
. ว.) ถือว่ามีประสบการณ์สูงสุดทำอะไรต่ออะไรได้ทุกอย่างเหมือนกับสามัญสถาปนิก
และสามารถเป็นกรรมการ ก.ส. ได้ด้วย
... อ่านต่อ
|